กระบวนการและกลไกการดูแลช่วยเหลือกลุ่มประชากรเฉพาะ: ปัจจุบัน
• ในการเก็บข้อมูลของ ศปสจ.กพ. ในครั้งนี้ เป็นการเก็บข้อมูลในภาวะที่จังหวัดกำแพงเพชรยังไม่มี ระบบหรือกลไกดูแลกลุ่มประชากรเฉพาะ จึงมุ่งเน้นการเก็บข้อมูลมาเป็นเบื้องต้นเพื่อใช้เป็นฐาน ในการพิจารณาพัฒนากลไกดูแลกลุ่มประชากรเฉพาะระดับจังหวัดต่อไป
ปัจจุบัน
• บุคลากร: แนวทางการดูแลช่วยเหลือประชากรกลุ่มเปราะบางของจังหวัดกำแพงเพชร ที่ปฏิบัติ อยู่นั้น จะมีอาสาสมัครต่าง ๆ เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัคร พัฒนาสังคม (อพม.) อาสาสมัครพัฒนาชุมชน (อช.) เป็นต้น ให้การดูแล เฝ้าระวังผู้ที่ประสบ ปัญหาในการดำรงชีวิต รวมทั้งกลุ่มเปราะบางทุกกลุ่ม ในระดับหมู่บ้านและชุมชน โดยการ ช่วยเหลือเบื้องต้น แล้วส่งข้อมูลให้กับหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้การช่วยเหลือที่ตรงกับปัญหา/ความ ต้องการของแต่ละบุคคล และการดูแลช่วยเหลือในระดับตำบล นั้น ก็จะเป็นการทำงาน ประสานกันของอาสาสมัครต่าง ๆ กับผู้นำชุมชน/ท้องที่ (ผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน) รวมทั้งเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขของ รพ.สต. ที่จะช่วยเหลือคนที่ประสบปัญหาความทุกข์ยาก เดือดร้อนในชุมชน โดย ให้การช่วยเหลือเบื้องต้น และส่งต่อข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือรับผิดชอบในระดับ ตำบล เช่น รพ.สต. / เทศบาลตำบล/องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น รวมทั้งเชื่อมประสานไป ยังหน่วยงานในระดับอำเภอและจังหวัด เมื่อมีความจำเป็น อีกด้วย
• อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการเก็บข้อมูลครั้งนี้ ได้มีช่วยแก้ปัญหาให้กลับผู้เดือดร้อน ๑ คน คือ ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของราชการที่เขาควรได้รับ เพราะไม่มีบัตร ประจำตัวประชาชน (เนื่องจากไม่ได้แจ้งเกิดไว้แต่แรก) ด้วยการส่งข้อมูลของผู้สูงอายุที่ไร้สิทธิ ต่อไปยังหน่วยงานในพื้นที่ โดยประสานกับผู้นำท้องที่และผู้นำท้องถิ่น ให้นำข้อมูลดังกล่าวไปแจ้ง กับเจ้าหน้าที่ที่ว่าการอำเภอ ซึ่งหลังจากนั้น ก็มีการตรวจ DNA เปรียบเทียบกับเครือญาติ เพื่อ ยืนยันว่าเป็นผู้มีความสัมพันธ์กันจริง ๆ จนในที่สุด สามารถดำเนินการทำบัตรประชาชนให้ได้
• กลไกสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดูแลกลุ่มประชากรเฉพาะ ที่เป็นทางการ คือ คณะกรรมการพัฒนา คุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ที่มีอยู่ในระดับอำเภอ (ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ) ทั้ง ๑๑ อำเภอ โดยมีนายอำเภอเป็นประธาน และสาธารณสุขอำเภอ เป็นเลขาฯ ในทางปฏิบัติ พชอ. ทุกอำเภอ มีการเยี่ยมผู้มีความลำบากในการดำรงชีวิต ตามข้อมูลที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. อพม. และผู้นำท้องที่/ท้องถิ่น ทุกพื้นที่ในอำเภอ ประสานส่งเข้าสู่การพิจารณาของ พชอ.
• นอกจากนี้ ยังมีทีมงานอาสาสมัครของสำนักงานเหล่ากาชาด ในระดับจังหวัด (ซึ่งมีภรรยาของ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นนายกฯ) รวมทั้งเครือข่ายที่เป็นกิ่งกาชาดระดับอำเภอ คอยทำงาน ประสานกันในการดูแลกลุ่มประชากรเฉพาะ กลุ่มเปราะบางที่มีความเดือดร้อนอยู่เป็นประจำ โดย ทำงานประสานข้อมูลกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ซึ่งมีข้อมูลกลุ่ม ประชาการเฉพาะทั้งจังหวัด
• กองทุน: จังหวัดกำแพงเพชรมีกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) จัดสรรงบประมาณร่วมกันเพื่อพัฒนาศักยภาพ และความเข้มแข็งขององค์กร คนพิการ และองค์กรผู้สูงอายุ และองค์กรอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนให้คน พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ได้รับบริการ ขั้นพื้นฐานให้ สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างอิสระ ให้บริการอยู่ มีทั้งการสนับสนุนกายอุปกรณ์สำหรับคน พิการ เงินทุนที่ช่วยซ่อมแซมที่อยู่อาศัย งบประมาณจัดหาวัสดุสำหรับผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น รวมทั้ง กองทุนที่ พชอ. จัดตั้งขึ้นในทุก ๆ อำเภอ เพื่อช่วยเหลือกกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ อีกด้วย ทั้งนี้ กองทุนของ พชอ. แต่ลอำเภอ จะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความจริงจังของประธานฯ (นายอำเภอ) เลขานุการฯ (สาธารณสุขอำเภอ) และคณะกรรมการ พชอ. เป็นสำคัญ
• อย่างไรก็ตาม กลุ่มประชากรเฉพาะจำนวนมาก ยังเข้าไม่ถึง ด้วยเหตุและปัจจัยหลายประการ ทั้งนี้ ด้วยสาเหตุหลักคือ ระบบการดูแลกลุ่มประชากรเฉพาะของจังหวัดกำแพงเพชรยังไม่ได้ถูก พัฒนาอย่างจริงจัง
Powered by Froala Editor