กลไกจังหวัดนครราชสีมา

กลไกจังหวัดนครราชสีมา

กลไกการดำเนินงาน มี 2 ระดับ โดยใช้ชื่อว่า คณะทำงานการดูแลกลุ่มเป้าหมายเฉพาะระดับจังหวัด และคณะทำงานการดูแลกลุ่มเป้าหมายเฉพาะระดับอำเภอ 5 อำเภอ

การดำเนินงานการของศูนย์ประสานงานภาคีการพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา ได้ประสานเครือข่ายที่ร่วม ขับเคลื่อนงานจิตอาสามาร่วมเป็นกลไกการดูแลกลุ่มประชากรเฉพาะในระดับจังหวัดนครราชสีมา ปี 2566 โดยแกน นำเครือข่ายจิตอาสาจาก 5 อำเภอร่วมประชุมออกแบบการทำงานในจังหวัดนครราชสีมาเป็นแกนหลัก ได้ดำเนินการ จัดกระบวนการสำรวจข้อมูลกลุ่ม ประชากรเฉพาะโดยแยกการจัดเก็บในพื้นที่ 4 กลุ่มประชากรเฉพาะคือ กลุ่มคนพิการ  กลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มผู้หญิงที่เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว กลุ่มแรงงานนอกระบบและกลุ่มคนไร้บ้าน ในพื้นที่ 5 อำเภอ เพื่อกลับไป ประสานรวมพลคนทำงานจิตอาสาและประสานหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชในพื้นที่ ผู้นำชุมชน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อสม.  

เป็นผู้สำรวจ โดยใช้ข้อมูลจากการลงพื้นที่สำรวจจริง และให้ผู้นำชุมชนรับรองข้อมูลรายชื่อกลุ่มเป้าหมายจากการ สำรวจคนจนหรือกลุ่มเปราะบาง ทั้งหมด 5 อำเภอ จำนวน 136 คน เพื่อจัดทำแผนการช่วยเหลือส่งต่อหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องในอำเภอ โดยมีการออกแบบกลไกการทำงานในแต่ละอำเภอด้วย โดยแกนนำในแต่ละอำเภอเข้ามาเป็น คณะทำงานระดับจังหวัดร่วมกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องที่มีภาคีเครือข่าย จากภาครัฐ ท้องถิ่น และภาคประชาชนรวม  

12 คน ดังนี้ 

รายชื่อกลไกคณะทำงานการดูแลกลุ่มเป้าหมายเฉพาะจังหวัดนครราชสีมา 

1. นายสันทนา ธรรมสโรจน์  ผู้ประสานงาน ศปจ.นครราชสีมา 

2. นายถวิล ตรีวรปัชญ์ ผู้ประสานงานอำเภอบัวใหญ่ 

3. นายอดิศักดิ์ ชนสูงเนิน  ผู้ประสานงานอำเภอครบุรี  

4. นางสาววาสนา นามไพร  ผู้ประสานงานอำเภอหนองบุญมาก 

5. นางรุ่งทิวา พลอยสุวรรณ์  ผู้ประสานงานอำเภอแก้งสนามนาง 

6. นางสะธิทร จีมกลาง  ผู้ประสานงานอำเภอบ้านเหลื่อม 

7. นางอนงค์นาฏ คุณวิเศษ  พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 

8. นางเสนีย์วรรณ เสนีย์ยุทธ  ผู้จัดการกลุ่มภารกิจ สปสช.เขต 9 นครราชสีมา 

9. นางสาวอาภรณ์ บุญสูง  ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดนครราชสีมา 

10. นางนุสรา พัฒนชัยวงษ์คูณ  ฝ่ายงานประกันสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 

11. นางพรทิพย์ สังข์เสน่ห์  คณะทำงานจังหวัดบูรณาการ 

12. นางสาวอารยา นามไพร  เยาวชนอาสาช่วยจัดทำระบบไอที 

บทบาทหน้าที่ 

1. ประชุมวางแผนการสำรวจข้อมูล แบ่งบทบาทหน้าที่และพื้นที่ลงสำรวจ 

2. ติกตามการสำรวจการเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ 4 ประเด็น 

3. ติดต่อประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือ ให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย 

4. ประชุมติดตามเพื่อดูพัฒนาการ การช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

5. สรุปผลการช่วยเหลือ จัดทำรายงานส่งส่วนกลาง

Powered by Froala Editor