กลไกจังหวัดลำปาง

กลไกจังหวัดลำปาง

การดำเนินงานการของศูนย์ประสานงานภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคมจังหวัดลำปางได้ขึ้นรูปแบบกลไกการดูแลกลุ่มประชากรเฉพาะในระดับจังหวัด จังหวัดลำปาง ปี 2566 ที่มีภาคีเครือข่าย 3 ภาคส่วน เช่น ภาครัฐ ท้องถิ่น ภาควิชาการจากสถาบันการศึกษาและภาคประชาชนรวม 11 คน

โดยมีการออกแบบกลไกการทำงานแต่ละภาคส่วน 3 ระดับดังนี้

  1. การออกแบบกลไกการช่วยเหลือผู้ยากลำบากที่เข้าไม่ถึงสวัสดิการของภาครัฐ

          1.1 การจัดทำระบบฐานข้อมูลประชากรเฉพาะจากการสำรวจ เพื่อสอบทานกับรายชื่อผู้ยากลำบากในโครงการแก้จน อำเภอบูรณาการ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อลดความซ้ำซ้อนและเป้าหมายตัวจริงได้รับการช่วยเหลือ

          1.2 การจัดทำแผนแก้จนระดับอำเภอ คือ อำเภอเมืองลำปาง ได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลและตรวจทานโดยใช้รายชื่อคนจนจาก TPMAP.และคัดกรองตัดรายชื่อและให้ผู้นำชุมชนในการชี้เป้าคนจนหรือกลุ่มเปราะบางตัวจริงเข้าระบบ

          1.3 ศูนย์ประสานงานประชาสังคม(ศปจ.)ได้มีการเชื่อมงานกับ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง(มรภ.ลำปาง) ได้ใช้ประโยชน์ในการเก็บข้อมูลเป็นการสอบทาน ยืนยันว่า เป็นกลุ่ม คนจนจริงและสรุปแนวทางการแก้ไข 3 แนวทางดังนี้

               1) การส่งต่อข้อมูลให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเช่น พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับจังหวัด คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล

               2) นักวิจัยร่วมกับภาคี ผู้นำชุมชน วางแผนปฎิบัติการช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆเช่น การระดมทุน อุปกรณ์ วัสดุสิ่งของในการช่วยเหลือแก่ผู้ยากไร้ตามข้อมูลการสำรวจ

               3) การจัดทำ Operating model โดยนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมเข้าไปช่วยในพื้นที่นำร่อง

เช่น อำเภอเมืองลำปาง มีการซ่อมแซมบ้าน อำเภอแม่เมาะ และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต(กฟผ.)มีการจัดถุงยังชีพเพื่อแจกจ่าย

          1.4 การผลักดันแผนการช่วยเหลือกลุ่มประชากรเฉพาะ(เปราะบาง)ในแผนงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับและในแผนงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด 

Powered by Froala Editor