“ต้นทุนชีวิตนั้นไม่เท่ากัน”  จังหวัดตราด
ผู้สูงอายุ (ที่ถูกทอดทิ้ง)

“ต้นทุนชีวิตนั้นไม่เท่ากัน” จังหวัดตราด

พ่อส่ง แต่งงานกับ แม่นิตย์ มีลูกด้วยกัน 3 คน อาชีพพ่อส่งเป็นช่างก่อสร้าง อาชีพแม่นิตย์ทำงานรับจ้างรายวัน ปัจจุบัน พ่อส่ง อายุ 69 ปี ส่วนแม่นิตย์ อายุ 74 ปี ปัจจุบันมีหลานชาย 3 คนอาศัยอยู่ด้วย สาเหตุที่ต้องดูแลหลานชาย 3 คน

“ต้นทุนชีวิตนั้นไม่เท่ากัน”  จังหวัดตราด

        พ่อส่ง แต่งงานกับ แม่นิตย์ มีลูกด้วยกัน 3 คน อาชีพพ่อส่งเป็นช่างก่อสร้าง อาชีพแม่นิตย์ทำงานรับจ้างรายวัน ปัจจุบัน พ่อส่ง อายุ 69 ปี ส่วนแม่นิตย์ อายุ 74 ปี ปัจจุบันมีหลานชาย 3 คนอาศัยอยู่ด้วย สาเหตุที่ต้องดูแลหลานชาย 3 คน ที่อยู่ในวัยกำลังเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปี 4 และ 5 ส่วนหลายชายคนโตเรียนจบมัธยมศึกษาปี 3 แล้วแต่ยังไม่ได้เรียนต่อ ความเป็นมาของการต้องเลี้ยงหลานชาย 3 คน ซึ่งเป็นลูกของลูกชาย ครอบครัวแตกแยกเลิกรากันไปมีลูกด้วยกัน 3 คน ฝ่ายหญิงแยกทางไป ส่วนลูกชายปัจจุบันอยู่ในสถานกักกันเนื่องจากเสพยาเสพติด ส่วนลูกของพ่อส่งแม่นิตย์ ก็ส่งเสียไม่ได้เต็มที่ก็ต้องหาอยู่หากินของตนเองไป สภาพความเป็นอยู่แบบอัตคัด ทั้งด้านเรื่องรายได้ที่มีไม่เพียงพอกับรายจ่าย รวมถึงบ้านที่อยู่อาศัยสภาพเก่าและทรุดโทรมตามกาลเวลา 

        พ่อส่งแม่นิตย์มีรายได้หลักจากเงินผู้สูงอายุ และบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ส่วนรายได้จากช่องทางอื่นก็มาจากงานรับจ้างตามที่มีคนว่าจ้างกำหนดไม่ได้ว่าจะมีงานทำทุกวันหรือไม่ เนื่องจากวัยที่สูงอายุขึ้นทุกปีของพ่อส่ง

        และแม่นิตย์ สภาพกายและจิตใจยังดีและแข็งแรงแต่เหมือนเป็นคนอมทุกข์หน้าตาไม่เบิกบาน หน่วยงานราชการหลายหน่วยก็มาช่วยแต่ก็ยังขาด ไม่สามารถช่วยได้แบบยั่งยืน ทีมงานที่ได้ไปสำรวจ ก็นำข้าวสารไปเยี่ยมเยียนอยู่เป็นประจำ หากเป็นคนร่ำคนรวยชีวิตบั่นปลายก็ไม่ต้องลำบากได้ขนาดนี้ เลี้ยงลูกมา 3 คน จนโต และยังต้องมาเลี้ยงหลาน เป็นภาวะพึ่งพิงข้ามรุ่น เด็ก 3 คนที่พ่อแม่แยกทางกันอนาคตจะเป็นอย่างไร หากอนาคตไม่มีปู่และย่าคอยดูแลแล้วจะเป็นเช่นไร

ทีมงานอิ่มบุญและอิ่มใจ

        ด้วยวัยขนาดนี้ ฝึกให้ทำแป้นหอยนางรม ทำงานอยู่กับบ้านไม่ต้องออกไปไหนมาไหน ทำในร่ม ทำได้ทุกวัน อยู่ที่ขยันมากขยันน้อย วัสดุอุปกรณ์ทุกอย่างจัดหามาให้เสร็จ อยู่ในรูปแบบของการจ้างทำแป้นหอยนางรมเส้นละ 0.30 สตางค์ แป้นหอยนางรมคือ การเอาปูนผสมทรายผสมน้ำ หยอดผ่านเชือกเส้นเล็ก วางบนฟิวเจอร์บอร์ด 

        แป้นหอยที่ทำออกมาคล้ายพวงมาลัย มีเม็ดปูนข้างละ 5 อัน เพื่อใช้เพาะเชื้อหอยนางรมให้มาเกาะที่แป้นปูนและเลี้ยงเป็นหอยใหญ่ต่อไป ถ้าผ่านไปผ่านมาที่บ้าน ซึ่งบ้านอยู่ใกล้ถนนทางหลวง จะเห็นภาพที่แม่นิตย์ นั่งทำแป้นหอยทุกวันโดยเริ่มตั้งแต่ 7 โมงเช้า ไปจนถึงบ่าย 4 โมงเย็น เป็นประจำทุกวัน โต๊ะทำงานของแม่นิตย์เป็นแคร่ไม่ไผ่ยกสูงจากพื้น 0.60 เมตร มีขนาดกว้าง 0.90 เมตร x 1.80 เมตร ข้างมือจะมีถังผสมปูนทรายพร้อมหยอด มีถ้วยใบเล็ก 1 ใบ หรือหมวกกันน็อคเก่าที่เอาโฟมกันกระแทกออก ก็จะเป็นถ้วยใส่ปูนอย่างดี เนื่องจากเป็นทรงกลมง่ายต่อการกวนปูน ทัพพีเก่าประยุกต์มาใช้เป็นที่หยอดแป้น ป๋องน้ำเล็ก ๆ ที่ใส่น้ำไว้เพื่อเวลาปูนข้นเกินไปจะได้เพิ่มเติมน้ำได้สะดวก บนศีรษะจะเป็นที่แขวนเชือกเพื่อไม่ให้เชือกพันกันและสาวเชือกมาจากเหนือศีรษะเวลาที่จะใช้ 

        ทุกอย่างจะมีการเตรียมไว้เบ็ดเสร็จเรียบร้อย อ้อแล้วก็จะเห็นแก้วกาแฟอีก 1 ใบ เวลาหิ้วช่วงสาย ๆ ของวัน วนเวียนอย่างนี้อยู่เป็นประจำ เมื่อถึงเวลาของการเก็บแป้นหอยครั้งแรกของพ่อส่งและแม่นิตย์ ทำให้มีรายได้ 3 พันกว่าบาท วันนั้นเราเห็น พ่อส่งและแม่นิตย์ ยิ้มแย้มและมีความสุขมาก เรารู้สึกและรับรู้ได้จากสีหน้าท่าทางและรอยยิ้มที่สดใส ทุกวันนี้ก็มีรายได้จากการทำแป้นอยู่ตามช่วงของการเก็บแป้น เช่น 1 เดือนมาเก็บครั้ง หรือ 2 เดือนมาเก็บครั้ง แต่มีงานทำทั้งปี วันไหนพ่อส่งว่างก็จะนั่งตัดเชือกปั่นเชือกไว้ให้ บางที่ก็โรยทรายไว้บนฟิวเจอร์บอร์ดไว้ให้ บางวันก็ช่วยหยอดแป้น ช่วยผสมปูนไว้ให้ ช่วยเก็บแป้นมัดแป้นกองไว้  แม่นิตย์จะมีที่ทำแป้นหอย ด้วยวัย 64 และ 74 ของพ่อส่งและแม่นิตย์ หากวันไหนทีมงานว่าง ๆ ก็จะแวะเวียนไปตัดผมให้เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายอีกทาง


 

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor