“บุรีรัมย์ สานพลัง ปันสุขผู้ยากไร้”
คนไร้บ้าน

“บุรีรัมย์ สานพลัง ปันสุขผู้ยากไร้”

จังหวัดบุรีรัมย์เป็นอีกจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน มีการพัฒนามายาวนาน ดังหลักฐานที่ว่า บุรีรัมย์เดิมเป็นชุมชนเขมรโบราณที่มีความรุ่งเรืองมาแต่สมัยทวาราวดี ประชากรจังหวัดบุรีรัมย์ที่หลากหลายชาติพันธุ์ หรือกลุ่มชน ทั้งมีกลุ่มประชากรที่เข้มแข็งแล้ว และประชากรที่ยังยากลำบากอยู่

“บุรีรัมย์ สานพลัง ปันสุขผู้ยากไร้”

        จังหวัดบุรีรัมย์เป็นอีกจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน มีการพัฒนามายาวนาน ดังหลักฐานที่ว่า บุรีรัมย์เดิมเป็นชุมชนเขมรโบราณที่มีความรุ่งเรืองมาแต่สมัยทวาราวดี  ประชากรจังหวัดบุรีรัมย์ที่หลากหลายชาติพันธุ์ หรือกลุ่มชน ทั้งมีกลุ่มประชากรที่เข้มแข็งแล้ว และประชากรที่ยังยากลำบากอยู่ จึงต้องมีค่านิยมของการให้ การเสียสละ ช่วยเหลือเกื้อกูลและเอื้ออาทรกัน เป็นค่านิยมแบบจิตอาสาในจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ผู้ที่เข้มแข้งกว่าจะยื่นมือไปช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอและยากลำบากกว่า เพื่อให้สังคมจังหวัดบุรีรัมย์ผ่านพ้นความเดือดร้อนเฉพาะหน้า และสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพประชากรสู่ความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ในระยะยาวต่อไป 

        หลังจากทางคณะทำงานได้รับรายละเอียดเนื้องานการสำรวจข้อมูลจากโครงการก็ได้ประสานทีมงานประชุมวางแผนงานให้ชัดเจน โดยสรุปเลือกพื้นที่อำเภอ เลือกผู้รับชอบซึ่งเป็นหัวหน้าอาสาสมัครประจำอำเภอที่จะประสานหาอาสาสมัครอำเภอลงพื้นที่สำรวจข้อมูล   และอำเภอที่ได้สำรวจกลุ่มประชากรเฉพาะที่อยู่ในสภาวะยากลำบากได้แก่ อำเภอ สตึก,บ้านใหม่ไชยพจน์,ละหานทราย,และนางรอง รวม 4 อำเภอ 100 เคส 100 แบบสอบถาม

ภารกิจ

อาสาสมัครลงพื้นที่สำรวจ “กลุ่มประชากรเฉพาะที่อยู่ในสภาวะยากลำบาก”

        เริ่มภารกิจสำรวจที่มีอาสาสมัครกระจายตัวในแต่ละพื้นที่ ส่วนใหญ่เป็น อสม.,ผู้นำชุมชน,และนักเรียน นักศึกษา   นำแบบฟอร์มลงไปในพื้นที่ประสานกับผู้ใหญ่บ้านในชุมชน หารือกับคนในพื้นที่คัดเลือกกลุ่มประชากรเฉพาะที่อยู่ในสภาวะยากลำบาก  นำแบบฟอร์มไปนั่งสัมภาษณ์ข้อดีของการไปนั่งสัมภาษณ์กลุ่มยากลำบาก ผู้สัมภาษณ์ได้เห็นสภาพความเป็นอยู่จริงๆท่าทีการพูดจาเป็นต้นเมื่ออาสาสมัครลงรายละเอียดเสร็จในแบบฟอร์มก็จะประสานผู้ประสานงานอำเภอ เพื่อที่จะรวบรวมเอกสารให้ส่งในส่วนผู้ประสานงานจังหวัดดำเนินการให้เจ้าหน้าที่จัดรวบรวมและคีย์ลงระบบต่อไป

ประสบการณ์ สานพลัง ปันสุขผู้ยากไร้

        จากการลงพื้นที่ในการสำรวจข้อมูลของเหล่าอาสาสมัคร จากฐานข้อมูลพบว่า ส่วนใหญ่ที่ได้ถูกสำรวจเป็นกลุ่มประชากรเฉพาะที่อยู่ในสภาวะยากลำบาก เป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง,กลุ่มคนพิการด้านต่างๆที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้   ที่น่าตกใจกว่านั้นบางรายเป็นทั้งสองกรณีแถมยังครอบครัวมีฐานะยากจนอีกด้วยถึงแม้เขาเหล่านี้บางคนจะได้รับสวัสดิการด้านสาธารณสุข เช่น บัตรทองรักษาฟรี และมีเบี้ยยังชีพคนชรา   คนพิการ แต่เขาเหล่านี้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้แล้ว ยังไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องหรือรักษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะกลายเป็นผู้พิการซ้ำซ้อน ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังไม่มีคนดูแลมีชีวิตอยู่เหมือนรอวันตาย ขาดขวัญกำลังใจ   เพราะในบางรายสมาชิกในครอบครัวต้องออกไปทำงานรับจ้างทั่วๆไปให้มีเงินมาใช้จ่ายในครอบครัววันละ 100-300 บาท แต่ก็ไม่ได้ทำทุกวัน ในบางรายเป็นผู้ป่วยจิตเวช บางคนเอะอะโวยวาย มีท่าทางจะทำร้ายผู้อื่น ทำร้ายตัวเอง บางคนก็ไม่ได้รับยาต่อเนื่อง คือรับยาไปแต่ไม่กินอาการก็กำเริบก็มี สร้างความหวาดกลัวในชุมชน ส่วนผู้พิการบางคนประสบอุบัติเหตุหากไม่ได้ทำกายภาพบำบัด ก็จะกลายเป็นผู้พิการซ้ำซ้อน   ในบางรายไม่มีบ้านอาศัยอยู่กับที่ดินของคนอื่นที่เขาสงสารและให้เช่าอยู่ชั่วคราว และในบางรายคนในครอบครัวมีคนพิการ มีคนสูงอายุ มีเด็กเล็ก ยากจน เข้าไม่ถึงสวัสดิการของรัฐบางอย่างเพราะไม่มีลูกหลานคอยช่วย ไม่รู้ข้อมูลข่าวสาร อยู่ตามมีตามเกิดบางวันต้องอดอาหารจากการไม่มีข้าวสารหุง เป็นต้น จึงเห็นว่าคนกลุ่มนี้จะลำบากมาก เพราะเขากลายเป็นภาระให้ครอบครัว และภาระชุมชนสังคม

          ดังกล่าวตัวอย่างกรณีรายหนึ่ง ที่อาสามสมัครประสานงานทางผู้ประสานอำเภอ และจังหวัด ที่อยากจะให้มาลงพื้นที่เยี่ยมเยียน เพื่อหาทางช่วยเหลือ เห็นสภาพแล้วน่าสงสารน่าช่วยนำร่องในเคสพื้นที่ร่อนทองอำเภอสตึกรายหนึ่ง เป็นผู้สูงอายุ สถานะภาพโสด อายุ 78 ปี  เป็นคนพิการด้านร่างกายเคลื่อนไหวไม่ได้ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้อาศัยอยู่กับแม่ที่ชรามากๆอายุ 90 ปี และหลานเด็กเล็กหนึ่งคน โดยแม่ของหลานไปทำงานต่างจังหวัดส่งเงินมาให้เป็นบางครั้งประมาณ 1,000-2,000 บาท   ไม่พอกับรายจ่าย ต้องอยู่อย่างอดๆยากๆในบางวันไม่มีแม้แต่ข้าวสารหุงข้าว   ถ้าวันไหนเพื่อนบ้านแวะมาดูก็พอช่วยเหลืออาหารได้บ้าง เพื่อนบ้านเองก็ลำบากช่วยได้อย่างจำกัด ด้วยตนเองเป็นคนพิการ จึงช่วยเหลือครอบครัวไม่ได้จึงทำให้แม่ที่ชรามากๆต้องคอยช่วยตัวเองแล้วยังช่วยตนด้วยที่สำคัญยายไม่ได้รับสวัสดิการจากภาครัฐในเวลาที่เขาให้ลงทะเบียนที่จะช่วยเหลือต่างๆ เช่น ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ,ลงทะเบียนความช่วยเหลือสร้างบ้านมั่นคงของ พมจ.พอช. เป็นต้น   ดังกล่าวทีมอาสาสมัครและคณะทำงานจังหวัดจึงได้ลงพื้นที่เยี่ยมสอบถามเพิ่มเติม จนเกิดรอยยิ้ม เกิดขวัญกำลังใจ รู้สึกอบอุ่น ในรายยากไร้นี้อย่างเห็นได้ชัดจากสีหน้าท่าทางและการพูดคุย    ในวันนั้นทางคณะมีถุงยังชีพถุงใหญ่มอบเป็นพิ้นฐานในการไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน แล้วประสานผู้นำชุมชน  เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น รพ.สต.เข้าร่วมด้วย   พร้อมหารืออย่างไม่เป็นทางการการ จนมีแนวทางช่วยเหลือ เกิดขึ้นดังนี้  

  1. ช่วยเหลือการลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีผู้ใหญ่บ้านและอาสาสมัครสำรวจ รับอาสาช่วยดำเนินการให้คุณยายวัย 90 ปี 
  2. ประสานงาน พมจ. พอช.ดูเรื่องโครงการ บ้านมั่นคงให้ เคสคนพิการ มีเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น,คณะทำงานจังหวัด,ตัวแทน พอช.ในพื้นที่รับอาสาดำเนินการ 
  3. ของอุปโภค บริโภค ในยามเดือดร้อน มี ผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่ใจดีในพื้นที่ รับอาสา จะคอยมั่นมาดูแลช่วยเหลืออย่างสม่ำเสมอ 
  4. การช่วยเหลือด้านตรวจสุขภาพ รพ.สต. รับอาสาดำเนินการโดยนำพยาบาลมาตรวจรักษาและให้คำแนะนำต่างๆ ใช้ อสม.ที่มีจิตอาสาออกเยี่ยมเยียนติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับพัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ พบปะพูดคุยสร้างขวัญกำลังใจ ความอบอุ่นอย่างสม่ำเสมอ

          ดังกล่าวในระยะเวลาผ่านไปราวสองอาทิตย์หรือ 14 วัน   ได้รับข่าวคราวจากผู้ประสานงานอำเภอ และอาสาสมัครอำเภอ ประสานแจ้งความคืบหน้าการช่วยเหลือเคสดังกล่าวว่า 

  1. การช่วยเหลือการลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่มีผู้ใหญ่บ้านและอาสาสมัครสำรวจ รับอาสาช่วยดำเนินการให้คุณยายวัย 90 ปี ก็คือคุณแม่ของเคสนี้ ว่าได้รับลงทะเบียนลงระบบและนำตัวคุณยายไปไปยืนยันตัวตนที่ธนาคารเรียบร้อยสามารถใช้บัตรประชาชนไปใช้รูดสินค้าจำเป็นร้านค้าใกล้บ้านได้ เดือนละ 300 บาท 
  2. ได้ประสานงาน พมจ. พอช. ดูเรื่องโครงการ บ้านมั่นคงให้ เคสคนพิการ มีเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น,คณะทำงานจังหวัด,ตัวแทน พอช.ในพื้นที่รับอาสาดำเนินการ ผลปรากฏว่ามีเงื่อนไข ปัจจัยทางระเบียบบางอย่างไม่สามารถสร้างบ้านหลังใหม่ให้ แต่ทุกฝ่ายได้หารือช่วยกันจนเกิดการระดมทุนในชุมชนและประชาสัมพันธ์ผ่านทางกลุ่มไลน์ต่างๆจนมีผู้ใหญ่ใจดีทั้งจากในชุมชน จากข้างนอกชุมชนบริจาคสมทบทุน ช่วยซ่อมแซมบ้านหลังเดิมให้มั่นคงปลอดภัยขึ้น รับกองบุญประมาณ 10,000 บาท นำไปปรับปรุงซ่อมแซมหลังคาและห้องน้ำ   โดยมีแรงงานอาสาสมัครและช่างในพื้นที่รับอาสาช่วยทำฟรีไม่คิดค่าแรง  ด้านอาหารการกิน น้ำมีร้านค้าใจดีในชุมชนอาสาช่วยสมทบนำมาบริการให้ทางแรงงานฟรีในช่วงเวลาการทำงานก่อสร้าง จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
  3. สำหรับของอุปโภค บริโภค ในยามเดือดร้อน ก็มี ผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่ใจดี ร้านค้า เพื่อนบ้านในพื้นที่ จะคอยแวะเวียนมั่นมาดูแลช่วยเหลืออย่างสม่ำเสมอ เบื้องต้นมีข้าวสารสำรองไว้หุง 2 ถุงปุ๋ยจะสามารถไว้หุงกินได้นานหลายเดือน มีอาหารแห้ง สำเร็จรูป น้ำดื่ม พริก เกลือ น้ำปลา ปลากระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กุนเชียง ฯ กว่า 10 ชุด ไว้กินได้หลายเดือน 
  4. การช่วยเหลือด้านตรวจสุขภาพ รพ.สต. รับอาสาดำเนินการโดยนำพยาบาลมาตรวจรักษาและให้คำแนะนำต่างๆ ใช้ อสม.ที่มีจิตอาสาออกเยี่ยมเยียนติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับพัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ อสม.ยังคงพบปะพูดคุยสร้างขวัญกำลังใจ ความอบอุ่นอย่างสม่ำเสมอเฉลี่ยอาทิตย์ละ 3 ครั้ง เพราะ อสม.เป็นคนในพื้นที่ 2 คน แบ่งหน้าที่กันหมุนเวียนไปเยี่ยม สลับกัน   จนทำให้คนครอบครัวนี้มีบรรยากาศที่น่าอยู่ น่ามองสะอาด มากขึ้น คนในบ้านมีรอยยิ้ม มีจิตใจร่าเริงขึ้น ไม่ซึมเศร้า เหงาหงอย เหมือนก่อน

ปัจจัยความสำเร็จ

        จากการขับเคลื่อนงานสำรวจและช่วยเหลือกลุ่มประชากรเฉพาะที่อยู่ในสภาวะยากลำบาก  การบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน บูรณาการคนจนสามารถประสบผลสำเร็จและได้รับการยอมรับ และสำคัญคือทำให้ปัญหาได้รับการใส่ใจในแก้ไขร่วมกัน มีปัจจัยความสำเร็จ ดังนี้

  1. การมีกลไกการทำงานในระดับจังหวัด  อำเภอ   อาสาสมัคร ที่มาจากทั้งผู้นำทางธรรมชาติ ผู้นำชุมชน  นักเรียน นักศึกษาที่เป็นที่ยอมรับและมีจิตอาสาและเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนงานต่อเนื่อง
  2. การมีกระบวนการประสาน หารือ พูดคุย  และติดตามการขับเคลื่อนงาน
  3. การมีฐานข้อมูลที่ชัดเจน ทันสมัย   ในการพูดคุยและออกแบบการทำงานซึ่งทำให้เกิดความน่าเชื่อถือและสามารถทำงานได้ตรงจุด
  4. การมีส่วนร่วมและการร่วมเป็นเจ้าภาพในภารกิจ ของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนพร้อมร่วมเป็นหน่วยสนับสนุนโดยอัตโนมัติ
  5. การมีหน่วยงาน/องค์กร/เครือข่าย คอยช่วยสนับสนุนทั้งเงิน/แรงาน/สิ่งของ จากในพื้นที่และนอกพื้นที่ เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวและมีการทำงานได้สำเร็จลุล่วง


ภาพประทับใจ ภาคีเครือข่ายจิตอาสา สานพลัง ปันสุขผู้ยากไร้

 

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor