“ภาคเอกชนร่วมสร้างสังคมเป็นสุขสร้างบ้านให้กับผู้เปราะบาง” จังหวัดสงขลา
คนไร้บ้าน

“ภาคเอกชนร่วมสร้างสังคมเป็นสุขสร้างบ้านให้กับผู้เปราะบาง” จังหวัดสงขลา

วันที่ 10 พฤษภาคม 2566 นายทรงพล จังศิริวัฒนธำรง ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา และ นายธนวัตน์ พูนศิลป์ ประธานกรรมการที่ปรึกษาหอการค้าฯ พร้อมด้วย ผู้แทนจากสมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดสงขลาร่วมพิธีส่งมอบบ้านให้กับ ยายฉาย - ตาสวัสดิ์ ทองแกมแก้ว

“ภาคเอกชนร่วมสร้างสังคมเป็นสุขสร้างบ้านให้กับผู้เปราะบาง” จังหวัดสงขลา

ชาคริต โภชะเรือง

 


          วันที่ 10 พฤษภาคม 2566 นายทรงพล จังศิริวัฒนธำรง ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา และ นายธนวัตน์ พูนศิลป์ ประธานกรรมการที่ปรึกษาหอการค้าฯ พร้อมด้วย ผู้แทนจากสมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดสงขลาร่วมพิธีส่งมอบบ้านให้กับ ยายฉาย - ตาสวัสดิ์ ทองแกมแก้ว กลุ่มผู้เปราะบางทางสังคมในพื้นที่ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ณ บ้านเลขที่ 54/1 หมู่ 2 ตำบลท่าข้าม เป็นหนึ่งในกิจกรรมสร้างสังคมเป็นสุข

          ซึ่งเป็นโครงการที่หอการค้าจังหวัดสงขลา ร่วมกับ สมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดสงขลา ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากคณะกรรมการฯ เพื่อสมทบทุนในการสร้างที่อยู่อาศัยให้แก่กลุ่มผู้เปราะบาง มูลค่า 190,000 บาทและได้รับความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ในการประสานงาน

          นางสาวนุชรี ศรีพรมทอง ผู้อำนวยการกองสวัสดิการกองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ในฐานะผู้ประสานหลักได้กล่าวถึงที่มาของการสร้างบ้านดังกล่าวว่าในส่วนของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะเรื่องของที่อยู่อาศัยในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเองไม่สามารถทำได้เพียงลำพัง สิ่งที่เป็นปัจจัยให้ประสบความสำเร็จ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการบูรณาการความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ จากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมภาครัฐ เช่น หน่วยงาน one home  ภาคเอกชนเช่นผู้ประกอบการหรือบริษัทห้างร้านต่างๆ ภาคประชาสังคมไม่ว่าจะเป็นในส่วนของสมาคมต่างๆ มูลนิธิ หรืออาสา พัฒนาสังคม อสม. ซึ่งในส่วนของมูลนิธิ เช่น มูลนิธิชุมชนสงขลาได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตประชาชน

        “ในส่วนของการสร้างบ้านของป้าฉายอยู่ในฐานข้อมูลผู้ด้อยโอกาสของ อบต.ท่าข้าม และเป็นผู้ด้อยโอกาสฐานข้อมูล จปฐ ด้านที่ 8 คือด้านที่อยู่อาศัยไม่มั่นคงถาวร และยังมีชื่อในฐาน TPMAP อีกด้วย ป้าฉายจึงเป็นบุคคลที่สมควรจะได้รับการช่วยเหลือ” นางสาวนุชรีกล่าว และเล่าต่ออีกว่า จุดเริ่มต้นของการช่วยเหลือทาง อบต.ท่าข้ามได้ร่วมประชุมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา เป็นเวทีประชุมเพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาจังหวัด มิติการสร้างสังคมเป็นสุขซึ่งเป็น 1 ใน 3 ยุทธศาสตร์หลักของวิสัยทัศน์สงขลา 2570 และได้มีโอกาสเจอกับผู้ประกอบการ ซึ่งก็คือ ประธานหอการค้าจังหวัดในขณะนั้น


        “อบต.ท่าข้ามจึงได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นปัญหาในการหาแนวทางในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสที่สภาพบ้านชำรุด หรือไม่มีบ้านได้อย่างไรได้บ้าง และเป็นโอกาสดีได้เจอกับประธานหอการค้าจังหวัดสงขลาโดยท่านธนวัฒน์ พูลสิน โดยยินดีสนับสนุน และอบต.ท่าข้ามได้มีการประสานงานผ่านมูลนิธิชุมชนสงขลา และมีการส่งเรื่องต่อไปยังหอการค้าจังหวัดสงขลา หอการค้าจังหวัดสงขลาได้มีการตอบรับและพิจารณาคัดเลือกเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสจำนวน 2 ราย”

        โดยหอการค้าได้มีการรวมรวมงบประมาณและได้มีการชักชวนสมาคมอสังหาริมทรัพย์ ผู้ประกอบการต่างๆ ในการระดมทุนสร้างบ้านหลังละ 120,000 บาท  ทั้งหมด 2 หลังในพื้นที่ตำบลท่าข้าม งบประมาณทั้งสิ้น 240,000 บาท แต่งบในการสร้างบ้านจริงประมาณ 190,000 บาท และหอการค้าได้ประสานประธานบริษัทออกซิเจน เรียลเอสเตท จำกัด นำคนงานมาช่วยสร้างบ้านให้กับป้าฉายมีการระดมการสร้างบ้านจนแล้วเสร็จ เป็นบ้านแห่งความสุข คนให้ชื่นใจคนรับสุขใจ 

        ทั้งนี้ที่ดินในการสร้างบ้านเป็นที่ดินของป้าฉาย เนื่องจากถมที่ดินไว้นานแล้ว แต่ไม่มีโอกาสในการสร้างบ้าน จนได้มีการสำรวจข้อมูลร่วมกับหลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นฐานข้อมูลศูนย์ช่วยเหลือสังคมสงขลาปันสุข ศูนย์ขจัดความยากจนทุกช่วงวัยและฐานข้อมูลต่างๆ เมื่อได้ข้อมูลนำมาสู่การรวบรวมเพื่อการช่วยเหลือและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยเหลือ

เป็นอีกกิจกรรมความร่วมมือที่ขอปรบมือแสดงความชื่นชม

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor