“หญิงสาวผู้โชคร้ายกับชะตาชีวิตที่ไม่ได้เลือก” จังหวัดอ่างทอง
ผู้หญิง (ได้รับความรุนแรงในครอบครัว/ถูกล่อลวง)

“หญิงสาวผู้โชคร้ายกับชะตาชีวิตที่ไม่ได้เลือก” จังหวัดอ่างทอง

ข้าพเจ้า น.ส.สุทธิดา อายุ 39 ปี เป็นคนจังหวัดอ่างทอง อาชีพ รับจ้าง มารดาชื่อ นางมณฑา เสียชีวิตแล้ว ส่วนบิดาไม่ได้อยู่ด้วยกัน สามีของ น.ส.สุทธิดา ชื่อ นายคำไพร เสียชีวิตแล้ว ด้วยโรค เอชไอวี/โรคเอดส มีบุตร 2 คน

ข้าพเจ้า น.ส.สุทธิดา อายุ 39 ปี เป็นคนจังหวัดอ่างทอง อาชีพ รับจ้าง มารดาชื่อ นางมณฑา เสียชีวิตแล้ว ส่วนบิดาไม่ได้อยู่ด้วยกัน สามีของ น.ส.สุทธิดา ชื่อ นายคำไพร  เสียชีวิตแล้ว ด้วยโรค  เอชไอวี/โรคเอดส มีบุตร 2 คน  

1. นายสุทธิพงษ์ อายุ 20 ปี ได้ติดเชื้อจากพ่อ แต่ยังมีชีวิตอยู่ มีอาชีพ รับจ้าง  2. ด.ญ.พัชฎีย์ อายุ 3 ปี   โชคดีไม่ติดเชื้อจากพ่อ ตอนนี้ได้เข้าเรียนอยู่ที่โรงเรียนวัดลิ้นทองอนุบาลเด็กเล็ก

        เมื่อการเจ็บป่วยหนักมากจึงพาไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล  แพทย์ได้วินิจฉัยว่ามีภาวะ ติดเชื้อในกระแสเลือดและเป็นโรคเอดส์ ซึ่งหลังจากรับทราบ ผลเลือดของสามี รู้สึกตกใจมาก ทำใจยอมรับไม่ได้ และได้รับคำ ปรึกษาจากพยาบาลแนะนำ ให้เจาะเลือดตรวจ ซึ่งผลเลือด  พบว่าติดเชื้อเอชไอวี เมื่อทราบผลเลือด รู้สึกโกรธสามี การเจ็บป่วยของผู้ป่วยซึ่งไม่มีใครแสดงความ รังเกียจตนเองเช่นกัน และให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน พาไปโรงพยาบาล ผู้ป่วยบอกเล่าว่าตนเองโชคดีมีญาติ ช่วยเหลือดูแลช่วงเจ็บป่วย และขณะนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล มีเจ้าหน้าที่เอาใจใส่แนะนำ และยังได้เห็นบุคคลที่ป่วยด้วย โรคนี้จำนวนมาก มีทั้งเด็กวัยรุ่น อายุน้อยกว่าตนเอง บางคน ยังมีสุขภาพดีไม่แสดงอาการใดๆ 

        ตนเอง จึงตัดสินใจเข้ารับการรักษาโดยไม่รีรอ ทำให้อาการดีขึ้นมาก เมื่อปี 2558 บุตรสาวตั้งครรภ์และคลอดบุตร ตนเองจึงทำหน้าที่ดูแลหลาน ตั้งแต่แรกเกิด เพื่อช่วยเหลือบุตรสาวที่ต้องไปทำงานต่างจังหวัดกับสามี และส่งเงินมาให้เดือนละ 4,000 บาท และมีรายได้เพิ่มเติมจากการแกะเนื้อมะขามเปียกขายมีรายได้ อีกวันละ 300-400 บาท แต่รายได้ไม่ค่อยแน่นอน ปัจจุบัน หลานสาว อายุ 3 ปี ยังอยู่ในความดูแลของตนเองซึ่งผู้ป่วย รักหลานมากและหลานสาวก็ติดผู้ป่วย (ยาย) เช่นเดียวกัน จึงมีเป้าหมายชีวิตว่าจะเลี้ยงหลานไปเรื่อยๆ ส่วนบุตรสาว กลับมาเยี่ยมตนเองและลูกปีละครั้งช่วงเทศกาลสงกรานต์ และต่อมาบุตรสาวเลิกกับสามี จึงรู้สึกห่วงหลานและลูกสาว มากขึ้น 

         จึงตั้งเป้าหมายจะเลี้ยงดูหลานจนเติบโตและรู้สึกว่า ชีวิตตนเองอยู่ได้เพราะหลานและบุตรสาว จากกรณีตัวอย่างสามารถสะท้อนให้เข้าใจการปรับตัวของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง สามารถวิเคราะห์ได้ว่ากรณีครอบครัวตัวอย่าง มีต้นเหตุ ความเครียดครั้งแรกด้วยการทราบว่าสามีตนเองเจ็บป่วย ด้วยโรคเอดส์ เสียชีวิตในเวลาต่อมา และแพร่เชื้อมาสู่ตนเอง (A) มีผลทำให้ภรรยารู้สึกโกรธสามี ไม่ยอมรับ เสียใจ ทุกข์ใจ  เรื่องบุตรสาวเลิกกับสามีและรายได้น้อยลง แต่ครอบครัวมี ความพยายามปรับเปลี่ยน หารายได้เสริม และผู้ป่วยปรับเปลี่ยน มาทำ หน้าที่เลี้ยงดูหลานช่วยบุตรสาว สร้างความรักผูกพัน ต่อกันในครอบครัวมากยิ่งขึ้น (T) ทำ ให้ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่า มีเป้าหมายชีวิตของตนเองและครอบครัว ได้รับการสนับสนุน จากบุคคลในครอบครัว ญาติและบุคลากรทางการแพทย์ ทำ ให้เกิดผลลัพธ์ในการปรับตัวที่ดี ครอบครัวทำ หน้าที่ทั้งใน ด้านการดูแลสุขภาพ การเลี้ยงดูสมาชิกใหม่ ครอบครัวมี ระบบแบบแผนการดำ รงชีวิตใหม่ แสดงถึงการปรับตัวหรือ การคืนสภาพครอบครัวในเชิงบวก การรับประทานอาหาร การออก กำลังกาย การรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ การคลายเครียด การงดเว้นสิ่งเสพติด การป้องกันการติดเชื้อเพิ่ม การทำงาน เลี้ยงครอบครัว การดูแลสมาชิกในครอบครัว และการปฏิบัติตนต่อคู่สมรส   เนื่องจากการปรับตัวของครอบครัวที่มีสมาชิก ติดเชื้อเอชไอวีหรือเป็นโรคเอดส์ มีความเป็นพลวัตร มีการ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจึงจำ เป็นต้องให้การดูแลช่วยเหลือ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างการปรับตัวให้มีประสิทธิภาพ เน้นการป้องกันและเตรียมการณ์ล่วงหน้าในด้านกระบวนการของครอบครัว รวมถึงแหล่งสนับสนุนที่พอเพียงและมี ประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดได้ผลลัพธ์การปรับตัวที่ดี ซึ่งสามารถประเมินผลลัพธ์ได้จากภาวะสุขภาพของบุคคลและสมาชิกในครอบครัวเป็นอย่างดี

        การติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ถือเป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุข เนื่องจากมีการแพร่ระบาด พบอัตราตายสูง และยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดจึงก่อให้เกิดความเครียดต่อบุคคลและครอบครัวทั้งระบบ จากการทบทวนพบว่า ส่วนใหญ่ศึกษาเกี่ยวกับความเครียดและการปรับตัวของบุคคลติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์และผู้ดูแล    ความเครียดและการปรับตัวของครอบครัวและสภาพครอบครัว ซึ่งมีปัจจัย องค์ประกอบเกี่ยวกับ สาเหตุความเครียด ความเปราะบาง การรับรู้ การเผชิญปัญหา รูปแบบและการทำหน้าที่ครอบครัว แหล่งสนับสนุนและผลลัพธ์การปรับตัว ซึ่งบุคลากรด้านสุขภาพรวมทั้งพยาบาลวิชาชีพควรประเมินความเครียดและการปรับตัว ของครอบครัวที่มีบุคคลติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ทั้งระบบเพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลให้ครอบครัวและบุคคลติดเชื้อเอชไอวี ให้สามารถปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อให้เกิดผลลัพธ์การมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

        จากการศึกษาค้นคว้าพบว่า ในระยะแรกที่บุคคล รับทราบว่าตนเองติดเชื้อเอชไอวี มักเกิดความเครียดและ พยายามปรับตัวต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งมักพบปฏิกิริยา ในด้านจิตอารมณ์ในเชิงลบ ได้แก่ กลัวว่าต้องเป็นภาระของ ผู้อื่น กลัวถูกรังเกียจและถูกทอดทิ้ง กลัวตายและมีความ ละอายใจ ท้อแท้สิ้นหวังไม่อยากดูแลตนเอง เนื่องจากคิดว่า ตนเองเป็นคนไม่ดี อาจมีอารมณ์โกรธ ก้าวร้าว เนื่องจาก ถูกรังเกียจ ถูกตำ หนิ นินทา ไม่ได้รับการช่วยเหลือ รู้สึกไร้ค่า หมดหวังในชีวิต ไม่ปฏิบัติตามคำ แนะนำ ต่อต้าน แสดง ความโกรธต่อคนรอบข้างและ ประชดสังคม   ด้วยการแพร่เชื้อ มีความไม่มั่นคงทางใจ รู้สึกไม่มีความแน่นอนในชีวิต กลัว ความโดดเดี่ยวและความเหงา พฤติกรรมในลักษณะนิ่งเฉย ไม่ทำอะไร ไม่ดูแลตนเอง เบื่อ อาหาร นอนไม่หลับ ความต้องการทางเพศลดลง และบางราย พยายามฆ่าตัวตาย และในส่วนครอบครัวเมื่อรับทราบว่ามี สมาชิกติดเชื้อเอชไอวี มักมีปฏิกิริยาได้ในหลายลักษณะ เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ช็อก สับสน กลัว รู้สึกผิด โกรธและ เศร้าใจ อาจร้องไห้คร่ำ ครวญกับความสูญเสียความหวังและ เป้าหมายของชีวิตที่กำหนดไว้ร่วมกันระหว่างสามีภรรยา ส่งผลให้เกิดความแตกแยก สัมพันธภาพไม่ดี รู้สึกแปลกแยก และสับสน บางครอบครัวมีความรู้สึกโกรธรุนแรงและกล่าวโทษ ตำหนิ ไม่ให้อภัย เกิดความขัดแย้งและแตกร้าว ส่งผลกระทบ ต่อบุตร ชีวิตคู่ อาจทำ ให้เกิดอาการซึมเศร้ารุนแรงและคิด ทำร้ายตนเอง ไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป ครอบครัวที่มีฐานะไม่ดี มักพบปัญหาด้านการดูแลและรักษาพยาบาลและมีภาระ มากขึ้น ไม่สามารถให้การดูแลผู้ป่วยอย่างพอเพียง รู้สึก เครียดมาก บางครอบครัวไม่ยอมรับผู้ป่วย รู้สึกอับอายสังคม ไม่ไว้วางใจคู่สมรส ละทิ้งผู้ติดเชื้อ/เอดส์ (สามี/ภรรยา) และ บุตรไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามปกติได้ 

คณะทำงานกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลมหาดไทย  พร้อมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและสารวัตรกำนัน ลงพื้นที่สำรวจ ข้อมูลกลุ่มประชากรเฉพาะที่อยู่ยากลำบากของพื้นที่ตำบลมหาดไทย

เพื่อนำข้อมูลเข้าสู่ระบบของสวัสดิการชุมชนและสมาคมองค์กรฯไว้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการประกอบการขอรับความช่วยเหลือในด้านต่างๆ   โดยในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลครั้งนี้ทางสมาคมองค์กรสาธารณะประโยชน์ทีมงานคณะทำงานได้นำข้าวสารมามอบให้กับกลุ่มเพื่อเยี่ยมเยียนและเป็นขวัญกำลังใจให้กันและกัน


ผู้เรียบเรียงข้อความ  นางประทิน   มีพัฒนะ

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor