“แชร์เรื่องเล่า ร้อยเรื่องราว” จังหวัดมุกดาหาร
มุกดาหารเมื่อ 40 ปีที่แล้วเป็นจังหวัดใหม่ๆพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ประชากรมีพื้นที่ทำกินตามอัตภาพ บางครอบครัวมีที่ดินมากก็แบ่งให้ญาติพี่น้องให้ทำกินอย่างมีความสุข
ปัจจุบันมุกดาหารเป็นเขตเศรษฐกิจมีการเปิดตลาดการค้าอย่างเสรีกับต่างประเทศ นอกจากเปิดการค้าเสรีแล้วยังมีนายทุนมาซื้อที่ดินเพื่อไปทำกิจกรรมต่างๆมากมายส่วนร้านค้าก็รับแรงงานต่างด้าวเข้ามาเนื่องจากค่าจ้างถูกกว่าคนในพื้นที่ คนที่มีที่ดินก็ขายออกเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในครอบครัว ญาติพี่น้องที่เคยเช่าอยู่ทำสวน ทำไร่ ก็มาถูกไล่ที่เนื่องจากเจ้าของจะเอาไปขายเป็นเงิน
ทำให้ประชากรที่ยากจนและชนชั้นกลางต้องให้ลูกที่อยู่ในวัยทำงานไปทำงานต่างจังหวัดเพื่อมาเยียวยาพ่อแม่และครอบครัวพ่อแม่ที่ชราต้องอยู่ที่บ้านเลี้ยงหลานด้วยเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ พอบ้างไม่พอบ้างก็ต้องอดทนตามสภาพ
ต่อมารัฐบาลได้มอบหมายให้หลากหลายกระทรวงดูแลให้ความช่วยเหลือประชากรอันได้แก่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย
เมื่อปี พ.ศ. 2561 สมาคมเครือข่ายมุกดาหารเมืองสามธรรม ได้รับทุนสนับสนุนเพื่อสำรวจประชากรกลุ่มเปราะบางในจังหวัดมุกดาหาร เช่น กลุ่มคนยากไร้ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ต้องขัง คนไร้บ้าน และอื่นๆ
ผู้ที่อยู่ในเมืองใหญ่ผู้ที่อยู่ในเมืองศรีวิไลที่ได้รับความสะดวกสบาย อาจจะไม่เคยเห็นกลุ่มคนเหล่านี้ และอาจจะไม่มีความรู้สึกอะไรเลย แต่แท้ที่จริงแล้วกลุ่มคนเหล่านี้น่าสงสารและต้องดิ้นรนเป็นอย่างมาก ชะตาชีวิตที่ไม่เหมือนคนอื่น ชีวิตที่เกิดมาแล้วเลือกไม่ได้ บางคนพิการแต่เพื่อความอยู่รอดของชีวิตจะต้องออกหางานทำตามสภาพตนเองที่ทำได้ ถ้าป่วยติดเตียง บางท่านโชคดีมีลูกหลานคอยดูแลอย่างใกล้ชิด แต่สำหรับกลุ่มคนบางกลุ่มไม่มีแม้แต่โอกาสเข้ารับการรักษาพยาบาลเลย
ในกรณีที่ลงสำรวจ ยกตัวอย่างกรณีผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ในเขตตำบลหว้านใหญ่ นายสนุกเมืองโคตร ปัจจุบันอายุ 73 ปี อาชีพเป็นชาวประมง พออายุมากขึ้นตามองไม่เห็น เลยต้องหยุดทำอาชีพนี้ มีลูก 3 คน ลูกเอาที่นาไปขายเพื่อไปซื้อรถมอเตอร์ไซค์ คนแต่งงานแล้วไปอยู่กับภรรยาส่วนลูกสาวไปอยู่กับสามีปล่อยให้พ่ออยู่ตามลำพังเพื่อดูแลบ้าน
เคสผู้พิการทางสมอง เป็นหญิง แต่งงานมีบุตร 1 คน ปกติครบ 32 ประการ เมื่อสามีเมื่อสามีเสียชีวิตจึงได้แต่งงานใหม่ แต่ลูกที่คลอดออกมามีความพิการเช่นเดียวกับแม่ เคยได้รับความช่วยเหลือจากศูนย์พักพิงคนยากไร้ ปัจจุบันด้วยอาการที่เป็นทางสมอง ทำให้จำอะไรไม่ได้ ออกจากบ้านไป กระทั่งปัจจุบันญาติยังตามหาไม่พบ
เคสคนพิการทางร่างกาย พิการตั้งแต่กำเนิด มือบิดามารดาเสียชีวิตต้องอาศัยอยู่คนเดียวภายในบ้าน (อายุ 55 ปีแล้ว)
ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยประเภทนี้ส่วนมากเป็นผู้สูงอายุ ตัวเองตามอัตภาพ บางวันกินอิ่มบ้างไม่อิ่มบ้าง จึงทำให้ร่างกายทรุดโทรมมากขึ้น ไม่มีแรงแม้กระทั่งกระดิกนิ้ว ได้แต่เพียงนอนกระพริบตาเท่านั้น และผู้ป่วยติดเตียง เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน บุคคลเหล่านี้ก็ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ถ้าไม่มีผู้ดูแลอย่าใกล้ชิด
ผู้ยากไร้ครอบครัวนี้ประกอบด้วยพ่อแม่และลูกอีก 2 คน นอกจากเป็นผู้ยากร้ายแล้วยังเป็นผู้มีปัญหาทางสมองแต่ไม่แสดงอาการ พ่อแข็งแรงมีอาชีพรับจ้างทั่วไปแม่เป็นโรคหัวใจตั้งแต่กำเนิด ได้ยินเสียงอึกทึกหรือเสียงดังไม่ได้ มีอาการตกใจ ลูกชาพิการทางร่างกาย ส่วนลูกผู้หญิงเคราะห์ร้ายถูกกระทำชำเราจนท้อง ครอบครัวนี้อยู่ได้เพราะคนในชุมชนช่วยกันดูแลบริจาคอาหารเสื้อผ้าให้ ดูแลกันตามอัตภาพของคนในชุมชน
ทุกเคสที่กล่าวข้างต้น ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งสมาคมเครือข่ายมุกดาหารเหมือนเมืองสามธรรม เช่น ซ่อมบ้าน ให้สิ่งของ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม แต่การได้รับความช่วยเหลือนี้ เป็นแค่เบื้องต้นเท่านั้น
การช่วยเหลือกรณี บุคคลคนไร้สัญชาติ (รอบัตรประชาชน) น้อง ฉัตรชนี หรือ นางสาวฉัตรชะนี เกิดในประเทศไทย เมื่อปี 2546 แต่ไม่ได้รับสัญชาติไทย เคยได้รับเอกสาร ทร. 38 เป็นตัวแทนแข่งขันทักษะทางวิชาการต่าง ๆ ตั้งแต่ชั้นประถม จนถึงมัธยม และได้รับทุนการศึกษาในระดับอนุปริญญา จากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
(วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร) จึงทำให้ประธานชุมชน เห็นใจน้องประธานชุมชน จึงช่วยรับรองขอเอกสารจากทางเทศบาล จึงได้บัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนมา เมื่อปี 2562 ทางเทศบาลเมืองมุกดาหาร แจ้งว่าให้เรียนจบปริญญาตรีจากโรงเรียนของรัฐบาลเสียก่อน จึงค่อยมาขอทำบัตรประจำตัวประชาชน แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลักฐานและเวลา ปัจจุบันได้อาศัยบ้านเลขที่ของประธานชุมชนนาโปใหญ่เป็นบ้านเลขที่ตามทะเบียนราษฎร์และรับจดหมายข่าวสารต่าง ๆ บ้านพักที่อยู่อาศัยเป็นห้องเช่า ซึ่งประกอบด้วย ตัวน้อง พ่อ แม่ พี่ชาย และน้องสาว
---ความภูมิใจและประทับใจในการลงสำรวจข้อมูล--
เมื่อได้รับมอบหมาย อันดับแรกได้ประสานงานกับพื้นที่ที่จะไปสำรวจและพาหนะ ต่างสถานที่ไกลมากถนนบางพื้นที่ก็เดินทางลำบาก บางพื้นที่เป็นถนนดินต้องเดินลัดเลาะไปตามสวนยางพาราของชาวบ้าน รถตกหลุมบ้าง โดนสุนัขไล่บ้าง ถึงแม้เส้นทางในการสำรวจไม่ค่อยสะดวก แต่ก็ดีใจที่ได้เห็นรอยยิ้มของคนที่จะลงเก็บข้อมูล หาน้ำดื่มมาให้ผลไม้ของฝากเท่าที่มี
มุกดาหาร 2566
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor